mukii วิทยา

Home>mukii วิทยา

About mukii วิทยา

This author has not yet filled in any details.
So far mukii วิทยา has created 93 blog entries.

ข้อคิดดีๆ สำหรับการทำงาน (นักบัญชีรู้ไว้ไม่ด้อยค่า) ภาคจบ

ต่อจากภาคที่สอง ในภาคจบนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอธรรมะดีๆ หรือข้อคิดดีๆ ที่ท่าน ว.วชิรเมธีให้เราไว้ในงานปัจฉิมนิเทศนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 69 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม 2555 คือ [...]

2016-10-19T17:59:20+07:00October 19th, 2016|

ข้อคิดดีๆ สำหรับการทำงาน (นักบัญชีรู้ไว้ไม่ด้อยค่า) ภาคสอง

จากภาคแรก เราได้ทราบว่า การที่จะประสานอุดมคติกับชีวิตจริงนั้นเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตหลังจากสำเร็จการศึกษาจากรั้วมหาวิทยาลัย แต่เราต้องประสานอุดมคติอย่างมีสติ และอยู่ในกรอบของศีลธรรมและจริยธรรมโดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ธรรมะอีก 1 ข้อ ที่ท่าน ว. วชิรเมธีได้ให้เพิ่มเติมไว้ในงานปัจฉิมนิเทศนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 69 [...]

2016-10-19T18:00:01+07:00October 19th, 2016|

ข้อคิดดีๆ สำหรับนักบัญชี (นักบัญชีรู้ไว้ไม่ด้อยค่า) ภาคแรก

จากการจัดงานปัจฉิมนิเทศนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 69 ในวันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม 2555 พวกเราได้ข้อคิดดีๆ ที่ควรน้อมนำไปปฏิบัติจากท่าน ว. วชิรเมธี 3 ข้อด้วยกัน [...]

2016-10-19T17:56:30+07:00October 19th, 2016|

รายงานของผู้สอบบัญชีรูปแบบใหม่กับการแสดงความเห็นต่องบการเงินงวดเดียว

รายงานของผู้สอบบัญชีรูปแบบใหม่หรือที่เรียกกันว่ารายงานแบบหกวรรคนั้นได้มีการประกาศใช้แล้วโดยสภาวิชาชีพบัญชีฯ ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 21/2555 สำหรับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 ซึ่งมีผู้สอบบัญชีหลายท่านได้เสนอรายงานรูปแบบใหม่ดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดใหม่คือการแสดงความเห็นต่องบการเงินที่ตรวจสอบนั้นเป็นการแสดงความเห็นต่องบการเงินปีปัจจุบันที่ตรวจสอบเพียงงวดเดียว ซึ่งใช้สำหรับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาสิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2555 [...]

2016-10-20T16:34:05+07:00October 18th, 2016|

ผู้สอบบัญชีควรเสนอรายงานผู้สอบบัญชีงวดปัจจุบันอย่างไรเมื่องบการเงินงวดก่อนตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น

ปัญหาหนึ่งที่ผู้สอบบัญชีมักจะพบเมื่อต้องแสดงความเห็นในรายงานของผู้สอบบัญชีต่องบการเงินงวดปัจจุบันก็คืองบการเงินงวดก่อนได้รับการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น (ซึ่งอาจมาจากสำนักงานเดียวกันหรือต่างสำนักงานกัน) และผู้สอบบัญชีอื่นได้แสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไป (มีเงื่อนไข, แสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง หรือไม่แสดงความเห็น) ต่องบการเงินงวดก่อน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อตัวเลขเปรียบเทียบสำหรับงบการเงินงวดปัจจุบัน ผู้สอบบัญชีคนปัจจุบันควรพิจารณาว่าปัญหาหรือเรื่องที่ทำให้มีการแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไปในงวดก่อนนั้นได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องหรือยัง และพิจารณาผลกระทบต่องบการเงินงวดปัจจุบันดังนี้ หากตัวเลขเปรียบเทียบนั้นได้รับการแก้ไขแล้ว และงบการเงินงวดปัจจุบันไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข [...]

2016-10-19T17:52:31+07:00October 18th, 2016|

รายงานการสอบทานข้อมูลทางการเงินระหว่างกาล ที่มีงวดเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป

สืบเนื่องจากการเสนอรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 710 เรื่อง ข้อมูลเปรียบเทียบ-ตัวเลขเปรียบเทียบและงบการเงินเปรียบเทียบ ที่กำหนดให้ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นต่องบการเงินงวดปัจจุบัน ทำให้การเสนอรายงานการสอบทานข้อมูลทางการเงินระหว่างกาล (Interim financial information) ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกันด้วย กล่าวคือ ผู้สอบบัญชีต้องเสนอรายงานการสอบทานข้อมูลทางการเงินระหว่างกาลโดยอ้างถึงงวดปัจจุบันเท่านั้น ซึ่งแต่เดิมผู้สอบบัญชีต้องมีการกล่าวถึงงบแสดงฐานะการเงิน [...]

2016-10-20T16:26:09+07:00October 18th, 2016|

การพิจารณาความมีสาระสำคัญและผลกระทบแผ่กระจายในการแสดงความเห็นต่องบการเงิน

ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไปต่องบการเงินที่ตรวจสอบเนื่องจากเหตุการณ์สองเหตุการณ์คือ งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง หรือการไม่สามารถหาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ ถ้าหากผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวมีสาระสำคัญแต่ผลกระทบไม่แผ่กระจาย ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไขต่องบการเงิน (Qualified Opinion) แต่ถ้าหากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงมีสาระสำคัญและมีผลกระทบแผ่กระจาย ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง (Adverse Opinion) และหากกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่สามารถหาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอนั้นมีสาระสำคัญและมีผลกระทบแผ่กระจาย ผู้สอบบัญชีจะไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินที่ตรวจสอบ [...]

2016-10-19T17:49:36+07:00October 18th, 2016|

ผู้สอบบัญชีกับการประเมินการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการ

การดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern) แต่เดิมเรียกว่าการดำรงอยู่ เป็นข้อสมมติที่สำคัญในการจัดทำงบการเงินตามแม่บทการรายงานทางการเงิน ว่าผู้บริหารจะไม่มีเจตนาในการยกเลิกการดำเนินงานในระยะเวลา 12 เดือนนับจากวันที่ในงบการเงิน และผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ในการตรวจสอบให้ได้ความพอใจในเรื่องความเหมาะสมของการใช้ข้อสมมติเรื่องการดำเนินงานต่อเนื่องในการจัดทำงบการเงินของผู้บริหาร มาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 570 เรื่องการดำเนินงานต่อเนื่อง ได้ให้ตัวอย่างสถานการณ์ที่ทำให้เห็นว่ากิจการอาจมีปัญหาเรื่องการดำเนินงานต่อเนื่อง เช่น [...]

2016-10-19T17:48:50+07:00October 18th, 2016|

การตรวจสอบงบการเงินของกลุ่มกิจการ

ตามมาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 600 ข้อพิจารณาพิเศษ-การตรวจสอบงบการเงินของกลุ่มกิจการรวมถึงงานของผู้สอบบัญชีอื่น กำหนดว่าผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงานของกลุ่มกิจการ (Group Auditor) หรือบริษัทใหญ่ต้องรับผิดชอบการตรวจสอบ การปฏิบัติงานและการรายงานต่องบการเงินของกลุ่มกิจการหรือบริษัทย่อย ซึ่งรวมงบการเงินที่ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีของกิจการภายในกลุ่ม (Component Auditor) การแบ่งแยกความรับผิดชอบระหว่าง Group และ [...]

2016-10-19T17:53:46+07:00October 17th, 2016|

ผู้สอบบัญชีเลือกตัวอย่างในการสอบบัญชีอย่างไร

การเลือกตัวอย่างมีบทบาทเป็นอย่างมากในการสอบบัญชี เนื่องจากผู้สอบบัญชีไม่ได้ตรวจสอบรายการทั้งหมด 100% เนื่องจากผู้สอบบัญชีไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ และถึงแม้จะสามารถทำได้ก็ทำให้ต้องใช้เวลาและความพยายามเป็นอย่างมาก ดังนั้น ผู้สอบบัญชีต้องเลือกรายการที่เป็นตัวแทนของประชากรให้มากที่สุดเพื่อมาทดสอบและสรุปผลไปยังประชากร คำถามที่ตามมาคือผู้สอบบัญชีต้องใช้วิธีใดในการเลือกตัวอย่าง การเลือกตัวอย่างสามารถทำได้ 2 วิธีคือการเลือกตัวอย่างโดยใช้สถิติและการเลือกตัวอย่างที่ไม่ใช้สถิติ ผู้สอบบัญชีสามารถใช้ได้ทั้งสองวิธีในการเลือกตัวอย่าง วิธีที่ใช้สถิติจะทำให้ช่วยลดการใช้ดุลยพินิจของผู้สอบบัญชีและทำให้ลดอคติ (Bias) [...]

2016-10-19T17:46:18+07:00October 17th, 2016|
Go to Top