หลักสูตรระดับดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีแห่งแรกในประเทศไทย

หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี เริ่มต้นจากวิสัยทัศน์ของศาสตราจารย์กิตติคุณเพ็ญแข สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาการบัญชีระหว่างปี พ.ศ.2519-2526 ที่ต้องการให้ภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาการบัญชีเต็มรูปแบบตั้งแต่ระดับปริญญาบัณฑิตจนถึงปริญญาดุษฎีบัณฑิต และผลักดัน
ให้คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีดำเนินการจัดสรรทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาคณาจารย์ให้มีคุณวุฒิในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต เพื่อรองรับหลักสูตรใหม่ในระดับดุษฎีบัณฑิตต่อไป

ภาควิชาการบัญชีดำเนินการพัฒนาหลักสูตร โดยคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย ศาสตราจารย์กิตติคุณเพ็ญแข สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ศาสตราจารย์กิตติคุณวิไล วีระปรีย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประวิตร นิลสุวรรณากุล อาจารย์อรพินธุ์ ชาติอัปสร รองศาสตราจารย์สุรีย์ วงศ์วณิช อาจารย์ ดร.พรศิริ ปุณเกษม และรองศาสตราจารย์ ดร.ดนุชา คุณพนิชกิจ โดยเริ่มจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบัญชีดุษฎีบัณฑิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531

ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานกว่า 20 ปี หลักสูตรบัญชีดุษฎีบัณฑิต ได้สร้างนักวิจัยและนักวิชาการด้านการบัญชีจานวนหนึ่งที่มีบทบาทสาคัญด้านวิชาการและวิชาชีพ ในปีการศึกษา 2554 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้มีลักษณะเป็นหลักสูตรต่อเนื่องในระดับปริญญามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต จึงมีความจาเป็นต้องเปลี่ยนชื่อหลักสูตรภาษาไทยเป็น หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี (โดยยังคงชื่อหลักสูตรระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตไว้ ได้แก่ Doctor of Philosophy Program in Accountancy) เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรต่อเนื่องในระดับ ปริญญามหาบัณฑิต ได้แก่ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี และสะท้อนลักษณะของหลักสูตรที่เน้นศาสตร์บริสุทธิ์ด้านศิลปศาสตร์ โดยมุ่งศึกษาสาระและวิธีการของศาสตร์ด้านการบัญชี ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (พ.ศ.2549)

หลักสูตรหลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี เริ่มจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2555 ขณะที่โลกธุรกิจมีการพัฒนาตามกระแสของโลกาภิวัฒน์ความซับซ้อนของรายการค้าการลงทุนก่อให้เกิดปัญหาในการรายงานการเงินสาหรับธุรกิจ องค์กรกากับดูแลอุตสาหกรรม ตลาดเงิน ตลาดทุน และทุกภาคส่วน ที่ต้องได้รับการพิจารณาบนพื้นฐานของทฤษฎีเชิงบูรณาการจากหลายสาขาวิชาหลักสูตรปรับปรุงนี้จึงมุ่งเน้นความยืดหยุ่นในโครงสร้างหลักสูตรเพื่อรองรับความต้องการทำวิจัยด้วย ระเบียบวิธีวิจัยและเนื้อหาที่แตกต่างกันตามความสนใจของนิสิต เพื่อให้งานวิจัยของนิสิตมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน