บทความ

Home>บทความ

ข้อคิดดีๆ สำหรับการทำงาน (นักบัญชีรู้ไว้ไม่ด้อยค่า) ภาคสอง

จากภาคแรก เราได้ทราบว่า การที่จะประสานอุดมคติกับชีวิตจริงนั้นเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตหลังจากสำเร็จการศึกษาจากรั้วมหาวิทยาลัย แต่เราต้องประสานอุดมคติอย่างมีสติ และอยู่ในกรอบของศีลธรรมและจริยธรรมโดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ธรรมะอีก 1 ข้อ ที่ท่าน ว. วชิรเมธีได้ให้เพิ่มเติมไว้ในงานปัจฉิมนิเทศนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 69 [...]

2016-10-19T17:59:39+07:00ตุลาคม 19th, 2016|

ข้อคิดดีๆ สำหรับนักบัญชี (นักบัญชีรู้ไว้ไม่ด้อยค่า) ภาคแรก

จากการจัดงานปัจฉิมนิเทศนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 69 ในวันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม 2555 พวกเราได้ข้อคิดดีๆ ที่ควรน้อมนำไปปฏิบัติจากท่าน ว. วชิรเมธี 3 ข้อด้วยกัน [...]

2016-10-19T17:55:02+07:00ตุลาคม 19th, 2016|

รายงานของผู้สอบบัญชีรูปแบบใหม่กับการแสดงความเห็นต่องบการเงินงวดเดียว

รายงานของผู้สอบบัญชีรูปแบบใหม่หรือที่เรียกกันว่ารายงานแบบหกวรรคนั้นได้มีการประกาศใช้แล้วโดยสภาวิชาชีพบัญชีฯ ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 21/2555 สำหรับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 ซึ่งมีผู้สอบบัญชีหลายท่านได้เสนอรายงานรูปแบบใหม่ดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดใหม่คือการแสดงความเห็นต่องบการเงินที่ตรวจสอบนั้นเป็นการแสดงความเห็นต่องบการเงินปีปัจจุบันที่ตรวจสอบเพียงงวดเดียว ซึ่งใช้สำหรับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาสิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2555 [...]

2016-10-19T17:53:17+07:00ตุลาคม 18th, 2016|

ผู้สอบบัญชีควรเสนอรายงานผู้สอบบัญชีงวดปัจจุบันอย่างไรเมื่องบการเงินงวดก่อนตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น

ปัญหาหนึ่งที่ผู้สอบบัญชีมักจะพบเมื่อต้องแสดงความเห็นในรายงานของผู้สอบบัญชีต่องบการเงินงวดปัจจุบันก็คืองบการเงินงวดก่อนได้รับการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น (ซึ่งอาจมาจากสำนักงานเดียวกันหรือต่างสำนักงานกัน) และผู้สอบบัญชีอื่นได้แสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไป (มีเงื่อนไข, แสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง หรือไม่แสดงความเห็น) ต่องบการเงินงวดก่อน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อตัวเลขเปรียบเทียบสำหรับงบการเงินงวดปัจจุบัน ผู้สอบบัญชีคนปัจจุบันควรพิจารณาว่าปัญหาหรือเรื่องที่ทำให้มีการแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไปในงวดก่อนนั้นได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องหรือยัง และพิจารณาผลกระทบต่องบการเงินงวดปัจจุบันดังนี้ หากตัวเลขเปรียบเทียบนั้นได้รับการแก้ไขแล้ว และงบการเงินงวดปัจจุบันไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข [...]

2016-10-19T17:50:44+07:00ตุลาคม 18th, 2016|

รายงานการสอบทานข้อมูลทางการเงินระหว่างกาล ที่มีงวดเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป

สืบเนื่องจากการเสนอรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามมาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 710 เรื่อง ข้อมูลเปรียบเทียบ-ตัวเลขเปรียบเทียบและงบการเงินเปรียบเทียบ ที่กำหนดให้ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นต่องบการเงินงวดปัจจุบัน ทำให้การเสนอรายงานการสอบทานข้อมูลทางการเงินระหว่างกาล (Interim financial information) ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกันด้วย กล่าวคือ ผู้สอบบัญชีต้องเสนอรายงานการสอบทานข้อมูลทางการเงินระหว่างกาลโดยอ้างถึงงวดปัจจุบันเท่านั้น ซึ่งแต่เดิมผู้สอบบัญชีต้องมีการกล่าวถึงงบแสดงฐานะการเงิน [...]

2016-10-20T16:25:18+07:00ตุลาคม 18th, 2016|

การพิจารณาความมีสาระสำคัญและผลกระทบแผ่กระจายในการแสดงความเห็นต่องบการเงิน

ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบที่เปลี่ยนแปลงไปต่องบการเงินที่ตรวจสอบเนื่องจากเหตุการณ์สองเหตุการณ์คือ งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง หรือการไม่สามารถหาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ ถ้าหากผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวมีสาระสำคัญแต่ผลกระทบไม่แผ่กระจาย ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไขต่องบการเงิน (Qualified Opinion) แต่ถ้าหากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงมีสาระสำคัญและมีผลกระทบแผ่กระจาย ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง (Adverse Opinion) และหากกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่สามารถหาหลักฐานการสอบบัญชีที่เหมาะสมอย่างเพียงพอนั้นมีสาระสำคัญและมีผลกระทบแผ่กระจาย ผู้สอบบัญชีจะไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินที่ตรวจสอบ [...]

2016-10-19T17:49:12+07:00ตุลาคม 18th, 2016|

ผู้สอบบัญชีกับการประเมินการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการ

การดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern) แต่เดิมเรียกว่าการดำรงอยู่ เป็นข้อสมมติที่สำคัญในการจัดทำงบการเงินตามแม่บทการรายงานทางการเงิน ว่าผู้บริหารจะไม่มีเจตนาในการยกเลิกการดำเนินงานในระยะเวลา 12 เดือนนับจากวันที่ในงบการเงิน และผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ในการตรวจสอบให้ได้ความพอใจในเรื่องความเหมาะสมของการใช้ข้อสมมติเรื่องการดำเนินงานต่อเนื่องในการจัดทำงบการเงินของผู้บริหาร มาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 570 เรื่องการดำเนินงานต่อเนื่อง ได้ให้ตัวอย่างสถานการณ์ที่ทำให้เห็นว่ากิจการอาจมีปัญหาเรื่องการดำเนินงานต่อเนื่อง เช่น [...]

2016-10-19T17:48:29+07:00ตุลาคม 18th, 2016|

การตรวจสอบงบการเงินของกลุ่มกิจการ

ตามมาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 600 ข้อพิจารณาพิเศษ-การตรวจสอบงบการเงินของกลุ่มกิจการรวมถึงงานของผู้สอบบัญชีอื่น กำหนดว่าผู้สอบบัญชีที่รับผิดชอบงานของกลุ่มกิจการ (Group Auditor) หรือบริษัทใหญ่ต้องรับผิดชอบการตรวจสอบ การปฏิบัติงานและการรายงานต่องบการเงินของกลุ่มกิจการหรือบริษัทย่อย ซึ่งรวมงบการเงินที่ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีของกิจการภายในกลุ่ม (Component Auditor) การแบ่งแยกความรับผิดชอบระหว่าง Group และ [...]

2016-10-19T17:46:44+07:00ตุลาคม 17th, 2016|

ผู้สอบบัญชีเลือกตัวอย่างในการสอบบัญชีอย่างไร

การเลือกตัวอย่างมีบทบาทเป็นอย่างมากในการสอบบัญชี เนื่องจากผู้สอบบัญชีไม่ได้ตรวจสอบรายการทั้งหมด 100% เนื่องจากผู้สอบบัญชีไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ และถึงแม้จะสามารถทำได้ก็ทำให้ต้องใช้เวลาและความพยายามเป็นอย่างมาก ดังนั้น ผู้สอบบัญชีต้องเลือกรายการที่เป็นตัวแทนของประชากรให้มากที่สุดเพื่อมาทดสอบและสรุปผลไปยังประชากร คำถามที่ตามมาคือผู้สอบบัญชีต้องใช้วิธีใดในการเลือกตัวอย่าง การเลือกตัวอย่างสามารถทำได้ 2 วิธีคือการเลือกตัวอย่างโดยใช้สถิติและการเลือกตัวอย่างที่ไม่ใช้สถิติ ผู้สอบบัญชีสามารถใช้ได้ทั้งสองวิธีในการเลือกตัวอย่าง วิธีที่ใช้สถิติจะทำให้ช่วยลดการใช้ดุลยพินิจของผู้สอบบัญชีและทำให้ลดอคติ [...]

2016-10-19T17:45:55+07:00ตุลาคม 17th, 2016|

ผู้สอบบัญชีต้องอ่านข้อมูลอื่นด้วยหรือ?

ผู้สอบบัญชีบางท่านอาจไม่ได้ตระหนักว่าตนเองมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับข้อมูลอื่น (Other Information) ในเอกสารที่รวมงบการเงินที่ตรวจสอบแล้ว ตามมาตรฐานการสอบบัญชีรหัส 720 ข้อมูลอื่นหมายถึงข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน (นอกเหนือจากงบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชี) ที่รวมอยู่กับเอกสารชุดที่นำเสนองบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชี เช่น รายงานประจำปี บทอภิปรายและวิเคราะห์ของผู้บริหาร อัตราส่วนทางการเงิน ข้อมูลทางการเงินโดยสรุปหรือรายการที่สำคัญ [...]

2016-10-19T17:44:37+07:00ตุลาคม 17th, 2016|
Go to Top