mukii วิทยา

Home>mukii วิทยา

About mukii วิทยา

This author has not yet filled in any details.
So far mukii วิทยา has created 93 blog entries.

ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี – การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

การประยุกต์มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ในสถานการณ์การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีจัดทำร่างมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ในปี 2552 และมีมติให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม [...]

2016-10-19T18:11:58+07:00ตุลาคม 19th, 2016|

การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ

การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ธุรกรรมระหว่างบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันเกิดขึ้นตามปกติของการดำเนินธุรกิจ และหลายองค์กรรวมธุรกิจเพื่อให้กิจการสามารถได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในหลายรูปแบบ เช่น การเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพด้วยต้นทุนที่สามารถควบคุมได้ เป็นต้น ความสัมพันธ์ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดการผ่องถ่ายความมั่งคั่งระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ได้ เช่น ระหว่างเจ้าของที่มีอำนาจในการบริหารและเจ้าของที่ไม่มีอำนาจในการบริหาร ระหว่างผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจควบคุมและผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุม ระหว่างเจ้าของและผู้บริหาร หรือระหว่างเจ้าของกิจการและเจ้าหนี้ [...]

2016-10-19T18:13:03+07:00ตุลาคม 19th, 2016|

การคิดค่าเสื่อมราคา: ปัญหาในทางปฏิบัติ

การเปลี่ยนแปลงข้อสมมติเกี่ยวกับมูลค่าคงเหลือและอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชีในรอบระยะเวลารายงานปี 2554: การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีหรือการแก้ไขข้อผิดพลาด การปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินครั้งใหญ่ในปี 2552 ที่จะเริ่มบังคับใช้สำหรับรอบระยะเวลารายงานในปี 2554 สร้างความกังวลใจให้กับนักบัญชีจำนวนมาก หนึ่งในเรื่องต่าง ๆ คือข้อกำหนดในการทบทวนมูลค่าคงเหลือและอายุการให้ประโยชน์ของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 16 [...]

2016-10-19T18:13:50+07:00ตุลาคม 19th, 2016|

การบัญชีสำหรับสัญญาเช่าในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะทำไปเพื่อใคร

การบัญชีสำหรับสัญญาเช่าในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะทำไปเพื่อใคร สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดทำมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะและเริ่มบังคับใช้ในปี 2554 ตามแนวทางของสมาพันธ์นักบัญชีโลกที่สนับสนุนให้ประเทศสมาชิกพัฒนามาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดย่อม (SME) โดยไม่ต้องบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศสำหรับวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดย่อม (IFRS For SMEs) เพื่อให้กิจการเหล่านั้นไม่ต้องแบกภาระและต้นทุนในการจัดทำงบการเงินที่ซับซ้อน 1. ผู้ใช้งบการเงินของกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะคือใคร [...]

2016-10-19T18:14:51+07:00ตุลาคม 19th, 2016|

รายการกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (Other Comprehensive Income Items) คืออะไรกันแน่

รายการกำไรเบ็ดเสร็จอื่น (Other Comprehensive Income Items) คืออะไรกันแน่ ต่อจากบล็อกที่โพสต์ไปก่อนหน้านี้ การบัญชีมูลค่ายุติธรรม (Fair Value Accounting) ก่อให้เกิดการรับรู้กำไรหรือขาดทุนจากการปรับมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน ประเด็นที่สำคัญของการรับรู้รายการกำไรหรือขาดทุนดังกล่าวคือจะรับรู้ในบัญชีกำไรขาดทุน หรือรับรู้เป็นรายการกำไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็จอื่นดี [...]

2017-08-14T13:50:00+07:00ตุลาคม 19th, 2016|

การวัดมูลค่ายุติธรรม

การวัดมูลค่ายุติธรรม คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศจัดทำมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม ขึ้น เพื่อกำหนดนิยามและให้แนวทางในการวัดมูลค่ายุติธรรมเพื่อการรายงานทางการเงิน ขณะที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินก้าวเข้าใกล้การบัญชีมูลค่ายุติธรรม (Fair Value Accounting) เต็มรูปแบบมากขึ้น ขณะที่ผู้ทำบัญชีและผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มอื่นที่อาจประสบปัญหาความยุ่งยากในการวัดมูลค่ายุติธรรมของรายการบัญชีต่างวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเชื่อถือได้ของข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่ายุติธรรม อันเกิดจากข้อสมมติจำนวนมากที่ต้องใช้ในการวัดมูลค่า [...]

2016-10-19T18:16:22+07:00ตุลาคม 19th, 2016|

มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ

สภาวิชาชีพบัญชีได้ประกาศบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities) กับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามที่กำหนดไว้ใน พรบ.การบัญชี พ.ศ. 2543 และไม่ใช่กิจการที่ (1) มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการที่มีการซื้อขายต่อประชาชนหรืออยู่ระหว่างนำส่งงบการเงินให้แก่ กลต. หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่นเพื่อออกหลักทรัพย์ขายให้แก่ประชาชน (2) [...]

2017-08-14T13:50:00+07:00ตุลาคม 19th, 2016|

การปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การบัญชีป้องกันความเสี่ยง

แนวทางการปรับปรุงร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงินเกี่ยวกับการบัญชีป้องกันความเสี่ยง มาใหม่อีกแล้วครับ ร่างมาตรฐานการบัญชีเรื่อง การบัญชีป้องกันความเสี่ยง ที่คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศกำลังพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเมื่อเดือนธันวาคม 2010 ประเด็นสำคัญบางประการได้แก่ (1) กำหนดวัตถุประสงค์ของการบัญชีป้องกันความเสี่ยงเพื่อให้สะท้อนผลกระทบของการใช้เครื่องมือทางการเงินในการบริหารความเสี่ยงจากส่วนเปิดความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อกำไรขาดทุน ไม่ใช่เพียงแค่การหักกลบกำไรขาดทุน ข้อกำหนดดังกล่าวทำให้ความสำคัญของการหักกลบผลกำไรขาดทุนลดลงในการประเมินประสิทธิผลที่คณะกรรมการเคยกำหนดไว้ว่าการป้องกันความเสี่ยงที่มีประสิทธิผลต้องมีผลหักกลบกำไรขาดทุนได้ระหว่าง 80-125% การประเมินประสิทธิผลพิจารณาเพียงว่าการป้องกันความเสี่ยงนั้นให้ผลที่ไม่บิดเบือน ก่อให้เกิดความไม่มีประสิทธิผลที่คาดหวังไว้น้อยที่สุด [...]

2016-10-19T18:18:32+07:00ตุลาคม 19th, 2016|

การด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจำหน่าย

การประเมินการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคาทุนตัดจำหน่าย แนวปฏิบัติตามร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงินของ IASB กำหนดให้กิจการประเมินการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงินที่วัดด้วยราคาทุนตัดจำหน่ายตามวิธีผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Loss Model) โดยไม่ต้องรอให้เกิดข้อบ่งชี้ของการด้อยค่าก่อนทำการทดสอบการด้อยค่า เนื่องจากผู้ร่วมซื้อขายหลักทรัพย์กำหนดราคาของหลักทรัพย์โดยปรับความเสี่ยงกับอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงเพื่อสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตจากคู่สัญญาที่มีโอกาสไม่ปฏิบัติตามสัญญา เมื่อการกำหนดมูลค่าของสินทรัพย์ทางการเงินได้ปรับมูลค่ายุติธรรมเพื่อสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิต ณ วันเริ่มต้นรายการแล้ว การรับรู้มูลค่ายุติธรรมในวันเริ่มต้นรายการ รวมถึงการรับรู้ผลตอบแทนที่แท้จริงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับ [...]

2016-10-19T18:19:12+07:00ตุลาคม 19th, 2016|

ข้อคิดดีๆ สำหรับการทำงาน (นักบัญชีรู้ไว้ไม่ด้อยค่า) ภาคจบ

ต่อจากภาคที่สอง ในภาคจบนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอธรรมะดีๆ หรือข้อคิดดีๆ ที่ท่าน ว.วชิรเมธีให้เราไว้ในงานปัจฉิมนิเทศนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 69 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม 2555 คือ [...]

2016-10-19T17:58:58+07:00ตุลาคม 19th, 2016|
Go to Top